ใหม่! Gear S3 สมาร์ทวอชท์ 3 แนวคิด 3 สไตล์จากซัมซุงที่จัดแสดงในงาน Baselworld 2017

นาฬิกา ” ของจำเป็นที่เราทุกคนต่างรู้จักกันดี ในฐานะผู้ กำหนดเวลาในการทำทุกๆอย่าง พูดแบบนี้อาจฟังดูน่ากลัว แต่ก็เป็นเรื่องจริงเพราะเวลานั้นเป็นตัวกำหนดเรื่องราวต่างๆในการลงมือทำอะไรสักอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดเวลาเข้า-ออกงาน , การกำหนดเวลาประชุม , การกำหนดเวลาในการนัดหมายกับลูกค้า  หรือแม้กระทั่งการกำหนดเวลาในการทำอาหาร อาทิเช่น การย่าง การผัด การทอดและ การอบ ฯลฯ เวลาอยู่กับเราไปทุกที กลายเป็นส่วนนึงของเราไปโดยไม่ทันสังเกตุ

 จุดเริ่มต้นของนาฬิกา 

นาฬิกาแดด เป็นเครื่องที่ใช้บอกเวลารุ่นแรกสุด ชาวสุเมเรียนเป็นชนเผ่าหนึ่ง ที่ใช้นาฬิกาชนิดนี้ โดยจะแบ่งช่วงเวลาออกเป็น 12 ช่วงในหนึ่งวัน ซึ่งแต่ละช่วงจะกินเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยใช้วิธีวัดความยาวแสงเงาเป็นมาตรฐานในการวัดระยะเวลา  ด้าน ชาวอียิปต์ แบ่งเวลาออกเป็น 12 ช่วงเช่นกัน โดยดูเวลาจากเสาหินแกรนิตที่เรียกว่า ?Cleopatra Needles? การดูเวลาจะสังเกตจากความยาวและตำแหน่งเงา ที่แสงอาทิตย์ตกกระทบบนพื้นทำกับขีดทั้ง 12 ช่วงเวลาที่แบ่งไว้ เพื่อจะได้ไว้ดูว่าช่วงกลางวันเหลือเวลาที่เท่าไหร่  ส่วนชาวโรมัน แบ่งเวลาออกเป็นช่วงกลางวันและกลางคืน คอยมีเจ้าหน้าที่ประกาศเท่านั้น ขณะที่ชาวกรีกประดิษฐ์นาฬิกาน้ำ โดยใช้ถ้วยเจาะรูจมลงในโอ่ง เรียกว่า Clepsydra ดูการจมของถ้วยเทียบระยะเวลา ชาวกรีกใช้นาฬิกาชนิดนี้ในศาล

Advertisements

ต่อมาในปี 250 ก่อนคริตศักราช นักปราชญ์อาร์คิมิดิส พัฒนานาฬิกาน้ำนี้ขึ้นโดยเพิ่มตัวควบคุมความเร็ว เขาปรับปรุงนาฬิกาชนิดนี้เพื่อใช้งานทางดาราศาสตร์ ต่อมาจึงมีการทำนาฬิกาทรายขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นแก้วเป่าสองชิ้นมีรูแคบๆ กั้นกลาง โดยใช้ทรายเป็นตัวบอกเวลา จัดเป็นนาฬิกาแบบแรกที่ไม่อาศัยปัจจัย ดิน ฟ้าอากาศ มักใช้จับเวลาระยะสั้นๆ เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การบูชา การเฝ้ายาม และการทำอาหาร เป็นต้น

หอนาฬิกาแห่งแรกในโลก ติดตั้งที่มหาวิหารสตร๊าสบวร์ก ในเยอรมันนี ปี ค.ศ.1352 – 1354 และปัจจุบันยังใช้งานได้อยู่ ต่อมาในปี ค.ศ.1577 จึงมีการประดิษฐ์เข็มนาที และในปี ค.ศ. 1656 จึงมีการประดิษฐ์ลูกตุ้มที่ใช้ในนาฬิกาทำให้บอกเวลาเที่ยงตรงยิ่งขึ้น

ส่วนนาฬิกาพกถูกประดิษฐ์ขึ้นโดย นาย ปีเตอร์ เฮนไลน์ ชาวเมืองนูเรม-บวร์ก จากนั้นในปี ค.ศ.1962 มีการประดิษฐ์นาฬิกาเชิงอะตอมซีเซียม ใช้ในหอดูดาวกรีนิช ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือว่าจับเวลาคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ส่วนสำหรับนาฬิกายุคใหม่ถูกพัฒนาขึ้นช่วง ค.ศ.100 – 1300 ในยุโรปและในจีน ซึ่งอาศัยหลักการดึงดูดก่อให้เกิดน้ำหนักที่จะเคลื่อนคันบังคับ ซึ่งจะทำให้เข็มนาฬิกาเคลื่อนที่ได้ หลังจากนั้นอีกหลายร้อยปีก็ได้มีวิวัฒนาการและเทคโนโลยีเริ่มก่อตัวขึ้นทำให้เกิดเป็นการพัฒนาต่อยอดของ นาฬิกาออกมาเป็นนาฬิกาในรูปแบบที่ล้ำสมัยมากขึ้นที่เรียกว่า SmartWatch นั่นเอง

ประเภทของนาฬิกา

การแบ่งประเภทนาฬิกาตามกลไกโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

1.  Mechanical Watch หรือนาฬิกากลไกจักรกล ที่อาศัยการเคลื่อนไหวของฟันเฟืองต่างๆภายในชุดกลไกที่ได้รับแรงขับมาจากลานสปริงมาทำให้นาฬิกาเดินได้ นาฬิกาจักรกลได้รับการคิดค้นมานานหลายร้อยปีซึ่งประมาณกันว่ามีการคิดประดิษฐ์ขึ้นราวศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ

  •     Manual Winding Watch คือนาฬิกาไขลาน (หรือไขลานด้วยมือ) ซึ่งเป็นนาฬิกาที่มีใช้กันมาแต่ดั้งเดิมโดยอาศัยการไขลานเพื่อดึงให้สปริงลานดึงขึ้น และเมื่อสปริงลานตัวนี้คลายตัว ก็เสมือนการถ่ายโอนพลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อนๆฟันเฟืองต่างๆของกลไกและทำให้นาฬิกาทำงาน
  •     Automatic Winding Watch (Self-winding watch) คือนาฬิกาออโตเมติก หรือนาฬิกาไขลานอัตโนมัติ หรือเรียกง่ายๆว่าไขลานและทำงานได้ด้วยตัวเอง นาฬิกาในกลุ่มนี้จะมีตัวโรเตอร์ (Rotor) คอยเหวี่ยงขึ้นลานให้ ขณะที่เราสวมใส่นาฬิกาไว้บนข้อมือตลอด หรือ อยู่ในเครื่องหมุนหรือตู้ไขลานนาฬิกา (Watch winder) ซึ่งแรงเหวี่ยงจากข้อมือและตู้ไขลานจะช่วยให้โรเตอร์ทำงานตลอดส่งผลให้เกิดการขึ้นลานตลอด นาฬิกาจึงสามารถเดินได้ตลอดเวลา และจุดสังเกตของนาฬิกากลุ่มนี้ตัวเรือนเบาๆก็จะได้ยินเสียงโรเตอร์สั่นและหมุนดังเป็นเสียงกิ๊กเบาๆ

2.  Quartz Watch ที่เรียกกันว่านาฬิกาควอตซ์หรือนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ คือนาฬิกาที่ต้องใช้แบตเตอรี่หรือถ่านช่วยในการทำงานนั่นเอง นาฬิกากลุ่มนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เป็นตัวหมุนเข็มนาฬิกาให้เดินบอกเวลาหรือแสดงเวลาผ่านระบบตัวเลขดิจิตอลบนหน้าปัดแบบ LCD หรือ LED ซึ่งจะใช้พลังงานไฟฟ้าบางส่วนส่งผ่านผลึกควอตซ์แล้วรับสัญญาณความถี่กลับออกมาให้ไมโครเซสเซอร์ประเมินผลออกมาเป็นเวลา และควบคุมการเดินของเข็มอีกทอดหนึ่ง นาฬิกาควอตซ์มีความเที่ยงตรงสูงและราคาไม่แพง สะดวกต่อการใช้งาน แต่ไม่นิยมในหมู่นักเล่นนาฬิกาเท่าไร

Pic : Classy Old Time

Samsung ร่วมมือกับ Yvan Arpa จัดแสดงนาฬิกา 3 แนวคิด 3 สไตล์จาก Gear S3 ที่งาน Baselworld 2017

และหนึ่งในแบรนด์ผู้ผลิตสมาร์ทวอชท์ที่เราให้ความนิยมกันไม่น้อย และคุ้นหน้าคุ้นตากันดีนั่นก็คือ Samsung ที่ได้ผลิตสมาร์ทวอชท์ที่มีดีในเรื่องของความสวย ความทนทาน และฟีเจอร์การใช้งานที่ครบครัน ตอบโจทย์ชีวิตสมาร์ทสมัยใหม่ ซึ่งสมาร์ทวอชท์ที่เค้าทำออกมาก็จะเป็น Gear, Gear 2, Gear S, Gear Fit, Gear S2 และล่าสุด Gear S3

(Photo credit should read FABRICE COFFRINI/AFP/Getty Images)

ซึ่งปีนี้มีความประหลาดใจอยู่ไม่น้อยเกี่ยวกับสมาร์ทวอชท์รุ่นใหม่ของ Samsung ที่ได้เข้าร่วมและมีบทบาทในการจัดแสดงคอลเลกชั่นพิเศษในงาน Baselworld 2017 นี้ด้วย ซึ่งซัมซุงเองก็ได้มีการทำการบ้านก่อนที่จะเข้าร่วมงานนี้มาอย่างหนักหน่วงเลยทีเดียว โดยเค้ามีความพยายามที่จะลดช่องว่างและเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีชั้นสูงกับเอกลักษณ์การออกแบบนาฬิกาแบบ Swiss-made ที่มีมาอย่างยาวนานให้ผสมผสานกันออกมาอย่างลงตัว ด้วยความร่วมมือจาก Yvan Arpa นักออกแบบนาฬิกาสุดหรูจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้นำเสนอเจ้านาฬิกาอัจฉริยะนี้ภายใต้แนวคิดใหม่ 3 แบบ 3 สไตล์ โดยมีกลิ่นอายของความเป็นเกียร์ S3 ที่ออกแบบตามสไตล์ของ Swiss- made โดยแท้

Gear S3

โดยรวมภายนอกอาจดูเหมือน เกียร์ S3 แต่จริงๆแล้วจะมีสไตล์การออกแบบ รายละเอียด movement แบบสวิสแบบดั้งเดิมคงอยู่

สำหรับแนวคิดที่สองนี้ เป็นแนวคิดใหม่ในการปรับปรุงเกียร์ S3 ด้วยเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมเดียวกันกับการการออกแบบฝาและรูปร่างใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนในรุ่นที่ผ่านๆมา ทำให้ดูมีลูกเล่นมากขึ้น

สำหรับแนวคิดแบบที่ 3 นี้ เป็นนาฬิกาพ็อกเก็ตแบบ Hybrid ที่ผสมผสานระหว่างนาฬิกาแบบดั้งเดิมกับเทคโนโลยีสมาร์ทวอชท์ชั้นนำในปัจจุบันเข้ากันได้อย่างลงตัว

และนอกจากนี้ ซัมซุงก็ยังได้ยังได้ยืนยันอีกด้วยว่าจะเริ่มเปิดตัว Value Pack สำหรับในช่วงที่จัดงาน Baselworld 2017 สำหรับ เกียร์ S2 และ เกียร์ S3 ด้วย ซึ่งจะนำเสนอเนื้อหาเพิ่มเติม อาทิเช่น แอปพลิเคชันใหม่ ๆที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ และการปรับปรุงสำหรับฟีเจอร์ต่างๆ อาทิเช่น Alti / Barometer S Health และ Reminder และอื่นๆ เป็นต้น

สำหรับใครที่สนใจก็สามารถเข้าไปติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่

ที่มา expertwatch , Samsungnewsroom

Leave a Reply