รู้ไว้ไม่โดนต้ม! มาดูจุดสังเกตุเครื่อง Samsung อันไหนจริงอันไหน Fake

ในปัจจุบัน แบรนด์ชั้นนำใหญ่ๆ นั้นถูกบรรดามิจฉาชีพหัวใสทำของปลอมออกมาลอกเลียนแบบจำนวนมาก และในบางครั้งการปลอมแปลงก็ทำได้ดีจนแทบแยกไม่ออกว่าอันไหนจริงไหน  Fake วันนี้เราจึงรวบรวมเอาเคล็ดลับบางอย่างที่จะช่วยให้รู้ว่า หน้าตาแบบไหนเป็นของจริงหรือของปลอม ไปดูกันเลยยยยย!!

วิธีเชคว่าเป็นเครื่องของจริงหรือ Fake 

1. Packaging ภายนอก

Fake

ผลิตภัณฑ์ที่ถูกปลอมแปลงลอกเลียนแบบมักละเลยในเรื่องของ Packaging ภายนอก ซึ่งแตกต่างกับเจ้าของแบรนด์ที่ใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่หีบห่อ การซีลพลาสติก และแม้แต่ตะเข็บก็จะไม่มีรอยฉีกขาด ดูแลตั้งแต่ภายนอกไปยันภายในกล่อง รายละเอียดยิบย่อยก็ต้องไม่มีที่ติ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของคุณภาพการพิมพ์ตัวอักษร ฟ้อนต์ที่ใช้งาน และแบบอักษรก็ควรอ่านได้ชัดเจน และสีสันสม่ำเสมอ ตัวอักษรไม่เบียดหรือเว้นช่องไฟห่างจนเกินไป

Advertisements

2. ความสว่างหน้าจอ

แกะกล่องออกมา ถ้ามองผ่านๆ แล้วอาจจะไม่รู้สึกเลยว่า 2 เครื่องนี้แตกต่างกัน จุดสังเกตแรกก็คือเรื่องความสว่างและความคมชัดของหน้าจอ ของแท้นั้นเป็นจอ Super AMOLED ที่ให้สีที่สดและคมชัดกว่าของปลอม และให้สังเกตที่ปุ่มกด recent และ back ด้านข้างปุ่ม home ของปลอมจะเห็นชัดตลอดเวลา ถ้าของแท้จะมองเห็นเฉพาะเวลาที่มีการกดเท่านั้น

3.ความปราณีตของการผลิต และ texture ผิวโลหะ

เมื่อเอามาเทียบแล้วดูกันชัดๆ จะเห็นได้เลยกว่าของก็อปนั้นงานประกอบและ texture บนพื้นผิวโลหะ มีความลวกและหยาบกว่าของแท้ สังเกตบริเวณถาดใส่ซิม จะเห็นได้เลยว่าของแท้จะพอดีเนียนเรียบกับตัวเครื่อง แต่ของปลอมจะเป็นร่องห่างกันชัดเจน ดังนั้นไม่ต้องสืบเลยว่าของก็อปนั้นจะกันน้ำกันฝุ่น IP68 ได้หรือไม่ (ลงน้ำนี่รับประกันว่าไม่รอด) ส่วนถาดซิมของก็อปปี้นั้นจะใช้วัสดุเป็นโลหะชิ้นเดียว แต่ถาดซิมของเครื่องแท้นั้นตัวถาดวัสดุจะเป็นพลาสติก

มาดูกันต่อในส่วนของด้านหลังกันบ้าง เอกลักษณ์การทำสีของซัมซุง จุดเด่นคือ จะเป็นสีเงาเหลือบที่ดูหรูหรา ซึ่งของปลอมนั้นก็พยายามทำให้ดูสีเหลือบเช่นกัน แต่ว่าเวลาสะท้อนจะสะท้อนแบบด้านๆ ต่างจากของแท้ที่จะมีเลื่อมสีรุ้งสะท้อนให้เห็น และสังเกตด้านล่างของเครื่องปลอมจะไม่มีตัวหนังสือแสดงมาตรฐานอุปกรณ์ FCC ใดๆ ปรากฏอยู่เลย นั่นคือเครื่องถูกผลิตออกมาโดยไม่มีการผ่านมาตฐานความปลอดภัยใดๆ เลยนั่นเอง

มาดูกันต่อในส่วนกล้องด้านหลังกันบ้างของปลอมนั้นเลนส์กล้องจะมีขนาดเล็กกว่านิดหน่อย และตรง Heart Rate Sensor ที่อยู่ใต้ไฟแฟลช LED ถูกเปลี่ยนเป็นเลนส์อะไรสักอย่างแทน และสังเกตงานประกอบรอยต่อของกระจกฝาหลังกับขอบเครื่องที่เป็นโลหะจะมีช่องว่างขนาดใหญ่ ไม่เนียนเรียบสนิท

4.หน้าตาของเมนูและ UI (User Interface) ของเครื่อง

ในส่วนเมนูและ UI (User Interface) ภายในเครื่องปลอม ต้องยอมรับเลยว่าพยายามเขียนธีมและปรับแต่งหน้าตา Android Marshmallow 6.0.1 ออกมาให้ใกล้เคียงกับ Touchwiz เวอร์ชั่นล่าสุดของ Samsung มากๆ แต่ก็มีหลายจุดที่ทำได้ไม่เหมือนและสังเกตได้ไม่ยากเช่นกัน

เริ่มด้วยให้ลองรูด Notification Bar จากด้านบนลงมา ตอนแรกก็ดูว่าจะเหมือนกัน แต่ว่าของแท้นั้นจะสามารถรูดลงมาจังหวะที่ 2 โชว์เมนูได้ทั้งหมด 4 แถว ซึ่งของก็อปนั้นไม่สามารถทำได้

ถัดมามาดูที่รายละเอียดของซอฟท์แวร์กันบ้าง ของปลอมนั้น หน้าตาการแสดงผลจะเหมือนกับตัว Android 6.0 มาตรฐาน แต่ถ้าอยากรู้ว่าเป็นของแท้ต้องกดเข้ามาใน Software Info จะมีแสดงเวอร์ชั่นของ KNOX ที่เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของทาง Samsung อยู่ด้วย คือถ้ากดไม่ได้แสดงว่าปลอม

ในส่วนของรายละเอียดหน่วยความจำภายใน Internal Storage ก็จะแสดงผลหน้าตาออกมาไม่เหมือนกัน แถมเจ้าเครื่องปลอมที่หน้ากล่องแปะบอกว่า 64GB แต่เข้ามาดูแล้วเอาเข้าจริงก็มีแค่ 32GB เท่านั้น

ยอมใจเลยในเรื่องความพยายามปลอมเครื่องจริงๆ เพราะแม้แต่ฟีเจอร์ Alway on Display พี่ท่านก็ทำมาให้ด้วยเหมือนกัน นั่นคือเวลาที่ปิดหน้าจอหรือกด sleep ไว้ก็จะมีโชว์นาฬิกาและปฎิทินได้เหมือนกัน แต่ว่ามันไม่เหมือนกันหรอกนะ เพราะว่า Samsung Galaxy S7 ของแท้นั้นหน้าจอเป็นแบบ Super AMOLED เวลาโชว์ AOD หน้าจอจะมืดสนิท แต่ของปลอมคาดว่าจะเป็นจอแบบ LCD เพราะจอไม่สามารถดำมืดสนิดได้ (จะเห็นเป็นสีดำอมม่วงๆ)

5.กล้องถ่ายภาพ

ในส่วนของเมนูกล้องถ่ายภาพ อันนี้เห็นได้ชัดเจนเพราะว่าของปลอมนั้นไม่สามารถลอกเลียนเทคโนโลยีกล้องของซัมซุงได้ ตัวเมนูก็จะไม่เหมือนกัน แถมยังมีฟีเจอร์กล้องตามแบบ ROM มือถือรุ่นอื่น อย่างเช่นการยกชูนิ้ว 2 นิ้วเพื่อถ่ายภาพ ของแท้เค้าเป็น Palm Shutter ชูทั้งมือต่างหากล่ะ

ส่วนฟีเจอร์กล้องของเครื่องจริง เค้าก็มีฟีเจอร์กล้องมาให้เลือกเยอะแยะมากมาย แถมโหลดเพิ่มได้อีกต่างหาก ส่วนของปลอมก็ตามสภาพมีแค่เมนูกล้องพื้นฐานให้ใช้ สีสันของภาพเห็นความแตกต่างกันได้อย่างชัดเจน

6. อุปกรณ์เสริมสายชาร์จแบต

ในส่วนของอุปกรณ์เสริมที่มีความสำคัญไม่แพ้ตัวเครื่องอย่างสายชาร์จนั้นก็มีจุดสังเกตุด้วยกันถึง 4 จุด จุดแรกเลยนั่นก็คือ ในส่วนของช่องเสียบสาย USB จะเห็นได้ว่า แถบวงจรสีขาวด้านในของแท้จะตั้งตรงและไม่ชิดขอบจนเกินไปส่วนของปลอมจะบิดเบี้ยวไม่ได้คุณภาพเลยดังเช่นในภาพ

จุดถัดมาก็จะเป็นโลโก้ที่อยู่ด้านบน จากในภาพจะเห็นความแตกต่างว่าตัวอักษรนั้นมีความหนาและบางไม่เท่ากัน แต่ถ้าดูเผินๆหรือมองผ่านๆก็แทบจะไม่ทันได้สังเกตุ

จุดถัดมาที่เป็นรายละเอียดยิบย่อยที่เราอาจไม่เคยสังเกตุกันเลยด้วยซ้ำ นั้นก็คือ รอยข้อข้อต่อตรงแท่นปลั๊กซึ่งจากรูปจะเห็นได้ชัดเจนระหว่างของแท้กับของปลอมว่า  ของแท้จะมีข้อต่อเพิ่มเข้ามาส่วนของปลอมจะเรียบไปเลย

และในส่วนสุดท้ายในการเชคอุปกรณ์เสริมสายชาร์ตแบตนั่นก็คือ ตรงส่วนหัวต่อของขั่วเสียบทางฝั่งที่จะต้องเชือมกับตัวเครื่องสมาร์ทโฟน จะสังเกตุเห็นได้ว่า ตัวขั่วหัวต่อมีความสั้นและยาวไม่เท่ากัน ซึ่งของจริงจะมีขนาดสั้นและแบนกว่า และอีกจุดนึงที่เห็นชัดคือ ณุปสัญลักษณ์ USB มีความเข้ม-อ่อนไม่เท่ากันอีกด้วย

สำหรับการเชคเครื่องเหล่านี้ ก็เป็นการเชคป้องกันไม่ให้เราโดนหลอกขายได้เครื่องปลอมมาใช้ เพราะนอกจากเรื่องของความเหมือนแล้ว เรื่องการใช้งานให้ปลอดภัยก็สำคัญ ยิ่งเวลาที่เราใช้งานมันเกี่ยวพันกับเรื่องของ Battery ซึ่งถ้าแบตเตอรี่ที่ใช้ไม่ได้มาตราฐานก็อาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องของการระเบิดเอาได้ ฉะนั้นเราจึงควรจะซื้อเครืองจากร้านค้าที่เชื่อถือได้และมีมาตรฐานเข้มงวดในเรื่องของการผลิตและการตรวจสอบความปลอดภัย

ยกตัวอย่างจากประเด็นการเรียกคืนเครื่อง Samsung Galaxy Note7 หลังจากการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียดสรุปว่าสาเหตุมาจากแบตเตอรี่ ทำให้ทาง Samsung เข้มงวดกับมาตรฐานการตรวจสอบความพร้อมของแบตเตอรี่ที่ใช้ในการผลิตสมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้น ถึง 8 จุด รวมทั้งยังมีการทดสอบอุปกรณ์ทุกส่วนทั้งภายในและภายนอกอย่างละเอียดอีกด้วยที่ให้เกิดเป็นการบวนการ SAMSUNG QUALITY ASSURANCE ขึ้นมา

SAMSUNG QUALITY ASSURANCE คืออะไร ?

SAMSUNG QUALITY ASSURANCE ก็คือ กระบวนการตรวจสอบความปลอดภัยในการผลิตแบตเตอรี่ของซัมซุงที่จะอาไปใช้ในสมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้น ถึง 8 จุดด้วยกันประหนึ่งว่าเป็นจุด เชคพอยท์ 8 ข้อที่ต้องทำก่อนออกจากโรงงาน ถ้าไม่ผ่าน 8 ข้อนี้ไม่ให้เล็ดลอดออกไปได้ และนอกจากนี้ก็ยังมีการมีการทดสอบอุปกรณ์ทุกส่วนทั้งภายในและภายนอกอย่างละเอียด เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่น ์Note 7ขึ้นอีก

กระบวนการตรวจสอบความปลอดภัยของแบตเตอรี่ทั้ง 8 จุด ได้แก่

  1. Durability Test  การเพิ่มระดับการทดสอบความทนทาน ไม่ว่าจะเป็น การประกอบแบตเตอรี่, ความทนต่อแรงกดดันในอุณหภูมิที่แตกต่าง, การชาร์จอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ฯลฯ
  2. Visual Inspection  การตรวจสอบด้วยสายตาเพื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างของแบตเตอรี่ที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าถูกต้องสอดคล้องกับเกณฑ์ทั้งในด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์
  3. X-Ray Test เป็นการเอ็กซ์เรย์เพื่อตรวจหาสิ่งใดๆ ก็ตามที่อาจเป็นปัญหาของแบตเตอรี่ อาทิ การบิดตัวของขั้วไฟฟ้า ซึ่งเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นของกรณีปัญหาใน Galaxy Note7
  4. Charge and Discharge Test การทดสอบการชาร์จไฟและการคายประจุไฟขนาดใหญ่เพื่อตรวจหาสิ่งใดๆ ก็ตามที่อาจเป็นปัญหาของแบตเตอรี่
  5. Accelerated Usage Test เป็นการทดสอบอย่างเข้มข้นเพื่อจำลองสถานการณ์การใช้งานของผู้บริโภค
  6. Disassembling Test เป็นการถอดแยกส่วนประกอบของเซลล์แบตเตอรี่ออกเพื่อตรวจสอบคุณภาพโดยรวมอย่างละเอียด รวมถึงสภาพของการเชื่อมแถบขั้วไฟฟ้าและการบุเทปฉนวน
  7. TVOC Test ทดสอบเพื่อตรวจจับว่ามีการรั่วไหลของกระแสไฟหรือไม่ แม้ว่าจะน้อยนิดที่สุดก็ตาม โดยตรวจหาในระดับของส่วนประกอบแบตเตอรี่และอุปกรณ์ทั้งตัว
  8. ΔOCV Test  การตรวจสอบสภาพของแบตเตอรี่โดยการทดสอบความเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟในสภาพอุณหภูมิปกติ

มาตรการตรวจสอบความปลอดภัยหลายชั้น (MULTI-LAYER SAFETY MEASURES PROTOCOL)

เป็นขั้นตอนในการวางแผนการผลิตของ Samsung ให้มีกระบวนการหลากหลายเพื่อความปลอดภัยของสมาร์ทดีไวซ์เพื่อเน้นย้ำความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ เริ่มตั้งแต่

  • กระบวนการออกแบบแบตเตอรี่ที่เน้นความปลอดภัย: ซัมซุงใช้มาตรฐานที่เข้มงวดยิ่งขึ้นกับวัสดุที่นำมาประกอบเป็นแบตเตอรี่
  • การออกแบบฮาร์ดแวร์: ซัมซุงเพิ่มพื้นที่ว่างระหว่างแบตเตอรี่กับแผงวงจรให้มากขึ้นเพื่อความปลอดภัยที่มากขึ้น
  • อัลกอริทึ่มของซอฟต์แวร์: ซัมซุงปรับปรุงอัลกอริทึ่มใหม่สำหรับการควบคุมอุณหภูมิของแบตเตอรี่ขณะทำการประจุไฟฟ้า การควบคุมกระแสไฟฟ้า และระยะเวลาที่ใช้ประจุไฟฟ้า

จัดตั้งคณะที่ปรึกษาด้านแบตเตอรี่ เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยสูงสุด

https://youtu.be/OeKdcIOAEL8

Samsung ได้รวบรวมที่ปรึกษา, ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการและการค้นคว้า ตั้งเป็นคณะที่ปรึกษาด้านแบตเตอรี่โดยเฉพาะ โดยคณะที่ปรึกษา ได้แก่

  • Clare Grey, Ph.D., Professor of Chemistry, University of Cambridge
  • Gerbrand Ceder, Ph.D., Professor of Materials Science and Engineering, UC Berkeley
  • Yi Cui, Ph.D., Professor of Materials Science and Engineering, Stanford University
  • Toru Amazutsumi, Ph.D., CEO, Amaz Techno-consultant

นอกจากนี้ ทาง Samsung ยังหวังว่าปัญหาที่เกิดขึ้นใน Galaxy Note7 นั้น จะเป็นโอกาสที่ช่วยให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีความปลอดภัยในการผลิตแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนมากขึ้น โดยไม่ใช่เฉพาะของ Samsung เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุตสาหกรรมทั้งหมด และ Samsung ก็จะมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อมาตรฐานความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้น

 

SOURCE: Picture from  Brightside, Whatphone

Leave a Reply